วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ทางลัดเข้าสู่พระนิพพาน

นมัสการองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกพระองค์
พระธรรม พระอริยสงฆ์ องค์พรหมเทพเทวา ผู้รักษาพระพุทธศาสนาทุกพระองค์

ขออาราธนาพระบารมีแห่งทุกพระองค์สถิตย์ในกาย วาจา และใจ ของข้าพระพุทธเจ้่า 

และขออนุญาตเบิกบุญ ทาน ศีล ภาวนาของข้าพระพุทธเจ้าที่บำเพ็ญแล้วทุกชาติ
ขอผลบุญนี้จงถึงแก่ทุกท่านที่ได้มาอ่านกระทู้ของข้าพระพุทธเจ้านี้ ผู้มีบุญสัมพันธ์กับข้าพระพุทธเจ้า 
ให้ทุกท่านมีความคล่องตัว มีจิตหลุดพ้น และได้ดวงตาเห็นธรรมในชาติปัจจุบันทุกท่านเทอญ

 

ผมต้องขอโทษทุกท่าน ที่ผมซึ่งเป็นเพียงคนธรรมดาคนหนึ่ง ที่ทำบาปกรรมมาทุกรูปแบบ 
ผิดศีลทุกข้อในชีวิตที่ผ่านมา แต่บังอาจมาตั้งกระทุ็เรื่องทางลัดสู่พระนิพพานครั้งนี้

แต่เนื่องจากปัจจุบันได้พบหนทางที่สามารถไปใกล้พระนิพพานได้มากที่สุดในชาตินี้

ได้มีโอกาสพ้นจากการ "เกิด แก่ เจ็บ ตาย ต้องพรัดพรากจากของรักของชอบใจ"

จึงขออนุญาตนำมาบอกเล่าแก่ท่านที่มีบุญสัมพันธ์ ได้บังเอิญมาพบกระทู้นี้ดังนี้ครับ



ที่ผ่านมา ผมทำบุญ วิหารทาน สังฆทาน ปล่อยสัตว์เช่นกัน
โดยหลงผิดคิดไปว่า เป็นบุญใหญ่ที่จะทำให้ไปสวรรค์นิพพานได้
โดยไม่คำนึงถึงการรักษาศีล 

ไม่ค่อยด่าว่าใคร แต่อดคิดในใจไม่ได้เสมอมา โดยไม่ทราบว่า
การที่คิดในใจเสมอ แต่ไม่พูดนี้ นั่นคือ การผิดขั้น "มหาศีล"
ร้ายแรงมาก เป็นความผิดทางความคิด "มโนกรรม" นำไปสู่นรกอเวจี
ที่เห็นผลในชาตินี้ ไม่ต้องรอชาติหน้า นั่นคือ ไม่มีความสุขใจ

โกรธใครก็ใช้สายตาแข็ง ๆ ส่งสายตาให้รู้
เคยดูภาพไม่ชวนดู ภาพโป๊ต่าง ๆ ทำให้สายตาเสียเร็วมาก

ชอบพูดเล่น พูดเลี่ยง ไม่ตอบคำถามตรง ๆ พูดส่อเสียดกับเพื่อนร่วมงาน
แม้ตอนแรกจะเพียงเล่น ๆ แต่หลายครั้งก็เลยเถิด เราล้อเล่นเขา เขาล้อเล่นเรา
ในที่สุดก็น้อยใจ โกรธกัน เพราะกรรมที่เราพูดในทางที่ทำให้เค้าเหล่านั้นไม่มีความสุข
มีปัญหาเรื่องเหงือกและฟันมาตลอด รูปปากไม่สวย เพราะกรรมที่ผิดศีลข้อ 4 นี่เอง 
และีอีกประการหนึ่งเกิดจากสมัยเด็กที่ชอบตกปลาเป็นเรื่องเล่น ๆ ทั้งที่ผู้ใหญ่ตักเตือนแล้ว

ที่เล่ามาทั้งหมดนี้ เป็นเพียงตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่า
การทำบุญทำทานที่ผ่านมา ไม่ใช่ไม่มีผล 
แต่ "กรรมใดหนักกว่า" "กรรมดี" หรือ "กรรมชั่ว"
ที่จะให้ผลแก่เราก่อน-หลัง หรือผสมผสานกัน เท่านั้นเอง

กรรม แปลว่า การกระทำ ไม่ว่าจะเป็นกรรมดี กรรมชั่ว ก็เรียกว่า "กรรม" ทั้งสิ้น

ทางลัดสู่พระนิพพาน ต้องเริ่มต้นจากการรักษาศีล 5 ให้บริสุทธิ์

สีเลนะ สุคะติง ยันติ = ศีลเป็นเหตุให้ถึงสุคติ

สีเลนะ โภคะสัมปะทา = ศีลเป็นเหตุให้ถึงพร้อมด้วยโภคะทรัพย์

สิเลนะ นิพพุติง ยันติ = ศีลเป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน

ตัสมา สีลัง วิโสทะเย = เพราะเหตุนั้นพึงชำระศีลให้หมดจด

พื้นฐานที่สำคัญของการตั้งใจรักษาศีลนั้น 

ได้แก่ 

การเคารพนับถือพระพุทธเจ้า
เคารพด้วยใจที่ตั้งมั่น มีจิตศรัทธา 
ไม่สงสัยในพระธรรมคำสอนของพระองค์ อันเป็นตัวแทนของพระศาสดา
เปรียบประดุจพระองค์ทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ แม้้เสด็จปรินิพพานไปนานแล้ว

หลวงปู่เณรคำ ฉัตติโก วัดป่าขันติธรรม ท่านสอนลูกหลาน คณะธรรมไว้ว่า



การปฎิบัติ ต้องเริ่มต้นที่ "ศรัทธา"

ในพระคุณของพระพุทธองค์ที่ทรงชี้แนะทางพ้นทุกข์ให้แก่เหล่าสัตว์โลก

ตั้ง "นะโม" ขึ้นมาคราวใดขอให้มีจิตศรัทธา นอบน้อม ต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยใจโดยแท้จริง

พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง)
ท่านสอนลูกหลานไว้ว่า



นิพพาน

ถ้าฉลาดพอ

ไปได้ทุกคน ไปได้ในชาตินี้

การไปนิพพาน

เป็นเรื่อง ไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่าย

ไปด้วย "กำลังใจ" อย่างเดียว



ท่านอาจารย์อุบล ศุภเดชาภรณ์ บ้านสวนพีระมิด กล่าวไว้ว่า
(ท่านเป็นลูกศิษย์ของพลวงพ่อเสงียม โอภาสี หลวงพ่อพระราชพรหมยาน พระอาจารย์รัตน์ รตนญาโณ)

แค่เราทำจิตเช่นนี้ไว้เสมอ 

คิดถึงแต่พระพุทธเจ้าเสมอ

อย่าให้จิตห่างพระพุทธเจ้า คิดถึงแล้ว

เราจะไม่อยากทำชั่ว ท่านจะคอยช่วยจริงๆ

ท่านจะคอยช่วยบังคับกระแสจิตเรา

ให้ห่างจากความชั่วทุกชนิด

ให้อยากทำแต่ความดี

ให้มีใจเบิกบาน

จริงๆ




เราสามารถบอกตัวเองได้ ณ บัดนี้เลย

ว่าเมื่อเราตายแล้ว เราจะไปไหน

ด้วยความรู้สึกของเราเอง

ขณะนี้ เราจะรู้ดีกว่าใคร

ไม่ต้องไปหา อาจารย์ที่ไหน

บอกเราว่าเราจะไปนิพพานได้หรือไม่

เราตอบตัวเราเองได้เลยนะ

ว่าเราเป็นคนอย่างไร

ถ้า

1.ใครด่า ว่า นินทา ตำหนิ ไม่รู้สึกโกรธ

ไม่เดือดร้อน ไม่แค้น เฉยๆ คิดว่า

คนก็เป็นอย่างนี้แหละ ถ้าไม่อยากเจอ

สภาพนี้ เราก็ต้องหนีไปนิพพาน



2.ไม่ว่าจะเจอมรสุมใด ก็ไม่ทุกข์

มีหนี้ ลูกดื้อ ผัวบ้า เมียบอ ก็ไม่ทุกข์

คิดว่าเขากับเรา ต่างคนต่างมา

ต่างคนต่างไป ช่วยได้แค่ไหนก็แค่นั้น


เราเห็นคนตายจากกัน

ก็ไม่เห็นกลับมาช่วยอะไรกันได้อีก

ดังนั้นเมื่อเราอยู่ หรือ ตาย ก็ไม่กังวล

ไม่ทุกข์กับการที่ใครจะนิสัยอย่างไร

ไม่ใช่นิสัยเราก็แล้วกัน

แต่นิสัยเรา เราต้องแก้ ไม่ต้องแก้คนอื่น


3.จิตทรงอุเบกขา เป็นอารมณ์

จะเกิดอะไรขึ้นก็ช่าง ไม่ตื่นเต้น

ไม่ตกใจ ไม่ฟูมฟาย นิ่ง เข้าไว้ก่อน


เห็นคนใกล้ชิดตาย หรือ มีเคราะห์กรรม

ก็ให้คิดว่า คนในโลกนี้เขาก็มีให้เราเห็น

อยู่ทุกวัน ไอ้เคราะห์กรรมแบบนี้

แล้วทำไมมันจะเกิดกับเราไม่ได้

กรรมแต่ละคน ต้องทำมากันทั้งนั้น

อารมณ์นี้

หลวงพระราชพรหมยาน (พ่อฤาษีลิงดำ) ท่านบอกว่า



" เป็นอารมณ์พระนิพพาน"

ขอขอบพระคุณทุกท่านที่สละเวลามาอ่านกระทู้นี้

หากท่านอ่านแล้ว เห็นว่าไร้สาระ ก็อย่าได้สนใจ อย่าให้ความสำคัญ
แต่ถ้าเห็นว่า พอมีประโยชน์อยู่บ้าง ก็ขอให้ช่วยนำไปเผยแพร่ บอกต่อ เป็นธรรมทานด้วยเทอญ สาธุ



"หากจิตของผู้ใดนึกถึงตถาคต จิตของตถาคตก็อยู่กับผู้นั้น"

ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านทุกประการครับ สาํุธุ



ตั้งมั่นในพรหมวิหาร 4 ตั้งใจรักษาศีล 5 
ทำบุญเข้าพรรษา ถวายบุญแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน มีพระพลานามัยแข็งแรง
ขอทรงเป็นมิ่งขวัญชาวไทยตราบนานเท่านาน สาธุ สาธุ สาธุ


ขอบคุณขอมูล จาก http://board.palungjit.com/f10/%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%99-299228.html

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

บท ธรรมะ คติสอนใจ


ดาวน์โหลดเพลงธรรมะ และ อื่น

จะเป็นกัลยาณมิตร ต้องทำอย่างไร

--------------------------------------------------------------------------------


 การสร้างคุณลักษณะของตนเองให้เป็นกัลยาณมิตร จะต้องรู้ว่าลักษณะของกัลยาณมิตรเป็นอย่างไร ในมงคล ๓๘ นั้น ข้อที่ ๒ คือ ให้คบบัณฑิต บัณฑิตนั้นมีคุณสมบัติของกัลยาณมิตร ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ที่เข้าไปคบหา คลุกคลี สนิทสนมด้วย 

ลักษณะของกัลยาณมิตรมี ๗ ประการ คือ 

 ๑. ปิโย หมายถึง น่ารัก เป็นคนน่ารัก 
คือ สามารถเข้าถึงจิตใจ สร้างความรู้สึกสนิทสนมเป็นกันเองได้ เห็นอกเขาอกเรา ช่วยเหลือชีวิตเราได้ เป็นเพื่อนฟังที่ดี ช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ ถ้าเป็นครู ก็ทำให้ผู้เรียนเข้าไปปรึกษาไต่ถามได้ โดยการทำตนเป็นกันเอง 

 ๒. ครุ หมายถึง ความน่าเคารพ 
คือ เป็นครูที่น่าเคารพ มีความประพฤติสมควรแก่ฐานะ ทำให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจได้ ครูที่ดีก็ต้องสามารถทำให้เกิดความอบอุ่นใจ และเป็นที่พึ่งได้ ให้ความปลอดภัยได้ 

 ๓. ภาวนีโย หมายถึง น่าเจริญใจ 
คือ มีความรู้จริง ทรงภูมิธรรมปัญญาอย่างแท้จริง และฝึกฝนปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ ไม่ใช่ว่าสอนเขาแต่ตัวเองไม่ทำ วิวัฒนาการใหม่ ผู้ที่จะสอนเขาก็ต้องเข้าไปเรียนรู้ และสอนให้เข้ากับสถานการณ์ สภาพแวดล้อมนั้นได้ 
เขาเรียกว่าปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ และเป็นที่น่ายกย่อง 

ควรเป็นตัวอย่างแก่ผู้ที่พบเห็น หรือไม่ก็สามารถทำให้ศิษย์เอ่ยอ้างเวลาพูดถึง และระลึกถึงด้วยความซาบซึ้งได้อย่างมั่นใจ และสร้างความภูมิใจให้แก่ศิษย์ได้ 

 ๔. วัตตา จ หมายถึง การรู้จักพูดให้ได้ผล 
คือ รู้จักพูดชี้แจงให้เข้าใจ เป็นผู้ที่สามารถชี้แจงอะไรให้เข้าใจได้ รู้ว่าเมื่อใดควรพูดอะไร และจะพูดอย่างไร คอยแนะนำ ตักเตือนได้ 

 ๕. วจนักขโม หมายถึง ความสามารถที่จะอดทนต่อถ้อยคำ 
คือ พร้อมที่จะรับฟังการปรึกษา การซักถาม แม้ว่าผู้ที่มาปรึกษานั้น จะพูดจู้จี้จุกจิก ไม่ชวนฟัง ตลอดจนพูดล่วงเกิน แม้จะถูกตักเตือน วิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆ ก็ฟังได้ไม่เบื่อ และไม่เสียอารมณ์ เพราะว่า มีขันติ มั่นคง เรียกว่า อดทนต่อถ้อยคำ 

 ๖. คัมภีรัญจ กถังกัตตา หมายถึง การรู้จักวิธีแถลงเรื่องที่ลึกล้ำหรือลุ่มลึก 
หมายถึง ชี้แจงเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างละเอียด ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย เข้าใจง่าย เมื่อเป็นครูต้องแถลงเรื่องได้ล้ำลึก สามารถพูดให้ผู้ฟังให้เข้าใจได้ง่าย 

 ๗. โน จัฏฐาเน นิโยชเย หมายถึง ไม่ชักนำไปในทางเสื่อมเสีย 
เช่น เวลาเป็นครูก็สอนอย่างหนึ่ง พอสอนเสร็จแล้ว ก็จะไม่ชักชวนเด็กไปกินเหล้ากัน เป็นต้น 


 
ขอบคุณเนื้อหาจาก มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ


ข้อคิดของชีวิต

--------------------------------------------------------------------------------

 ชีวิตเป็นเหมือนโรงละครโรงใหญ่ มีบทดีบ้าง บทไม่ดีบ้าง ให้เราเป็นผู้เล่น โลดแล่นไปตามบทบาท ทั้งสุขและทุกข์ที่จะคอยเรา ณ จุดใดจุดหนึ่งก็ได้ในหนทางข้างหน้า 

เมื่อเผชิญหน้ากับทุกข์ที่ไม่คาดฝัน คนพาลบางคนฆ่าคนที่ทำความทุกข์ให้กับตน บางคนยอมฆ่าตนเอง ตายหนีจากความทุกข์ บางคนสามารถฆ่าทั้งคนอื่นและตนเองได้ 

แต่บัณฑิตผู้มีปัญญา เมื่อเกิดความทุกข์ขึ้นมา ก็รู้จักวิธีที่จะฆ่าความทุกข์ ไม่ฆ่าคนอื่น และก็ไม่ฆ่าตนเอง 

 สิ่งที่จำเป็นที่สุดสำหรับชีวิต ก็คือ วิชาความรู้ เพราะความรู้เป็นที่พึ่ง เป็นมิตรแท้ซึ่งจะคอยช่วยเหลือเราในยามสุขและยามทุกข์ได้ตลอดไป มิตรภายนอกส่วนมากช่วยเหลือเราเฉพาะในยามสุข แต่ในยามทุกข์นี้ มิตรเหล่านี้ก็จะตีตนออกห่าง แต่ถ้าเรามีความรู้ ความรู้ก็จะอยู่กับเราตลอดเวลา 

 คนในโลกต่างเห็นคุณค่าของความรู้และแสวงหาความรู้อยู่ทั่วไป คนมีทรัพย์มากจึงพยายามส่งบุตรหลานไปศึกษาเล่าเรียนยังที่ไกล เช่น ตักสิลา บิดามารดาที่ไม่สามารถส่งบุตรไปเรียนถึงตักสิลาได้ ก็ขวนขวายส่งไปเรียนตามสำนักอาจารย์ผู้มีชื่อตามนครต่าง ๆ 

 

 ความจริงนั้น วิชาความรู้มีอยู่เต็มโลก มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง มีอยู่ในบ้านเมือง ในป่า ในน้ำ ในอากาศ ในคน ในสัตว์ ไม่มีที่ใดปราศจากความรู้ บุคคลที่ฉลาด มีปัญญา อาจหาความรู้ได้จากทุกหนทุกแห่ง ถ้าพูดตามความจริง โลกทั้งโลกได้ตั้งสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ที่ยิ่งใหญ่แล้ว 

เพราะทุกสิ่งและทุกคนที่อยู่รอบตัวเรา คือ ตัวความรู้ 

ส่วน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็คือ ครูทั้ง ๖ ที่คอยบอกความรู้ต่าง ๆ แก่เรา 

ส่วนเหตุการณ์ทั้งหลายทั้งดีทั้งชั่วที่ทยอยกันเกิดขึ้นมาประสบกับชีวิตเราทุกวัน ๆ ก็คือ บทเรียนของเรา 


 เมื่อโลกทั้งโลกเป็นโรงเรียน เราเกิดมาในโลกก็เท่ากับเราเป็นนักเรียน เป็นนักศึกษา หน้าที่ของเราก็คือ คอยรับบทเรียนที่โรงเรียนจะประสิทธิ์ประสาทให้ 

บทเรียนบางบทอาจจะง่าย เราอาจจะเรียนได้ด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน แต่บทเรียนบางบทอาจจะยาก เราต้องเรียนด้วยความยากลำบาก บางครั้งเราต้องเรียนด้วยน้ำตาแม้กระทั้งชีวิต 

นักเรียนบางคนชอบเรียนแบบง่าย ๆ ที่มีความสนุกสนาน แต่นักเรียนพวกนี้เมื่อได้รับบทเรียนที่ยากหน่อย ก็เกิดความท้อแท้ ท้อถอย และความทุกข์ใจ ต่างพยายามหนีจากโรงเรียนโดยวิธีฆ่าตัวตายบ้าง ฆ่าครูผู้ให้บทเรียนบ้าง เขาเหล่านั้นย่อมจะเป็นนักเรียนที่ดีไม่ได้ เขาจะไม่ได้รับความรู้ชั้นสูง เขาจะโง่และสอบตกอยู่ในโรงเรียนโลกตลอดไป 

 คนที่เป็นบัณฑิตหรือคนฉลาด จะไม่ใช้วิธีการฆ่าตัวตาย เพราะรู้ว่ามีทางแก้ไขมากมาย และรู้ด้วยว่าชีวิตนั้นเกิดขึ้นได้ยาก เมื่อทุกอย่างเกิดขึ้นก็ต้องมีทางแก้ไข ไม่มีใครสักคนเดียวจะต้องประสบความทุกข์ตลอดชีวิต และก็ไม่มีใครสักคนเดียวประสบแต่ความสุขตลอดชีวิต 

ถ้าเรามีการศึกษาถูก มีสัมมาทิฏฐิ เราก็จะอ่านบทเรียนต่าง ๆ ได้ และตัดสินใจได้ด้วยอาวุธ คือ ปัญญา ให้รู้ว่ามันเป็นผลอันเกิดจากเหตุทั้งสิ้น 

มุมสงบ (The peace)

The peace and The Buddhist religious figure.






























วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

วัดหนองแวง (พระอารามหลวง)

บรรยากาศสวยๆ รอบพระมหาธาตุแก่นนครอนุสรสาธุชน

วัดหนองแวง (พระมหาธาตุแก่นนคร)


วัดหนองแวง (พระมหาธาตุแก่นนคร) ตั้งอยู่ที่ถนนกลางเมือง ริมบึงแก่นนคร อำเภอเมือง ภายในวัดหนองแวงเมืองเก่าซึ่งเป็นพระอารามหลวง มีพระมหาธาตุแก่นนคร หรือ พระธาตุเก้าชั้นฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 50 เมตร เรือนยอดทรงเจดีย์จำลองแบบจากพระธาตุขามแก่น จัดสร้างขึ้น เนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี และมหามังคลานุสรณ์ 200 ปี เมืองขอนแก่น ความสูงขององค์พระธาตุฯ 80 เมตร มีพระจุลธาตุ 4 องค์ ตั้งอยู่ 4 มุมและมีกำแพงแก้วพญานาค 7 เศียรล้อมรอบ เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี ผสมผสานศิลปะอินโดจีน ซึ่งเป็นลักษณะแบบชาวอีสานตากแห

ประวัติวัดหนองแวง พระอารามหลวง

วัดหนองแวง เดิมชื่อวัดเหนือ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2332 พร้อมกับวัดกลาง และวัดธาตุ โดยท้าวเพียเมืองแพน เจ้าเมืองคนแรก ณ บ้านบึงบอน (บึงแก่นนคร) พ.ศ.2354 ท้าวจามมุตร ท้ายเพียเมืองแพน เจ้าเมืองคนที่ 2 ได้ย้ายเมืองไปอยู่บ้านดอนพันชาติ เขตเมืองมหาสารคาม (บ้านโนนเมือง ตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม) บ้านบึงบอนจึงกลายเป็นเมืองเก่าตั้งแต่นั้นมา

ปัจจุบันนตั้งอยู่ เลขที่ 593 ถนนกลางเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2442 โดยพระยานครศรีบริรักษ์(อู๋) และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2527 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร มีเนื้อที่ดินที่ตั้งวัด 26 ไร่ 65 ตารางวา โดยมีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์เป็นโฉนด 713 เลขที่ 28 หน้าสำรวจ 794 เล่มที่ 8 หน้า 13

ลักษณะพื้นที่ตั้งวัดและบริเวณโดยรอบเป็นที่ราบเรียบ เป็นลักษณะ 6 เหลี่ยม มีหมู่บ้านล้อมรอบสามด้าน และมีบึงแก่นนครอยู่ทางทิศตะวันออกของวัด

เคยได้รับรางวัล เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ปี พ.ศ.2524 เป็นวัดพัฒนาดีเด่น ปี พ.ศ. 2526 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะขึ้นเป็น พระอารามหลวง ปี พ.ศ. 2527

ภายในองค์พระธาตุมีอยู่ 9 ชั้น  คือ

ชั้นที่ 1 เป็นหอประชุมมีพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานอยู่บนบุษบกตรงกลางและพระประธาน 3 องค์อยู่ตรงกลาง บานประตู หน้าต่าง แกะสลักภาพนิทานเรื่องจำปาสี่ต้น โดยเฉพาะบานประตูแกะสลักภาพ 3 มิติและมีจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมืองขอนแก่น

ชั้นที่ 2 เป็นหอพัก บานประตูหน้าต่างเขียนลวดลายเบญจรงค์และภาพแกะสลักนิทานเรื่องสังศิลป์ชัย ตามผนังด้านบนมีภาพเขียนเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับคะลำ หรือข้อห้ามต่าง ๆ ของชาวอีสาน

ชั้นที่ 3 เป็นหอปริยัติ บานประตูหน้าต่างเขียนลวดลายเบญจรงค์และภาพแกะสลักนิทานเรื่องนางผมหอม

ชั้นที่ 4 เป็นหอปริยัติธรรม ภายในมีพิพิธภัณฑ์ของเก่าบานประตูหน้าต่างภาพพระประจำวันเกิด เทพประจำทิศและตัวพึ่ง-ตัวเสวย

ชั้นที่ 5 เป็นหอพิพิธภัณฑ์ มีบริขารของหลวงปู่พระครูปลัดบุษบา สุมโน อดีตเจ้าอาวาสวัดรูปที่ 6 บานประตูหน้าต่างแกะสลักภาพพุทธชาดก

ชั้นที่ 6 เป็นหอพระอุปัชฌายาจารย์ บานประตูหน้าต่างแกะสลักนิทานชาดกเรื่องเวสสันดร

ชั้นที่ 7 เป็นหอพระอรหันตสาวก บานประตูหน้าต่างแกะสลักนิทานเรื่องพระเตย์มีใบ้

ชั้นที่ 8 เป็นหอพระธรรม เป็นที่รวบรวมพระธรรม คัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนามีพระไตรปิฏก ฯลฯ บานประตูแกะสลักรูปพรหม 16 ชั้น

ชั้นที่ 9 เป็นหอพระพุทธ ตรงกลางมีบุษบก เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า บานประตูแกะสลักภาพ 3 มิติ รูปพรหม 16 ชั้น และสามารถชมทัศนียภาพของตัวเมืองขอนแก่นได้ทั้ง 4 ด้าน โดยเฉพาะทางด้านทิศตะวันออกสามารถมองเห็นบึงแก่นนครได้สวยงามมาก

ทางวัดได้จัดให้มีมัคคุเทศน์น้อยนำชม อธิบายภาพเขียนต่าง ๆ รวมทั้งสิ่งของที่จัดแสดงไว้ เพื่อความเข้าใจในเรื่องราวต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น

การศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดหนองแวง (พระอารามหลวง)